วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Access Point

ทำความรู้จักกับ Mode ต่างๆของ Access Point กันดีกว่า

     การใช้งานเครือข่ายไร้สายนั้น นอกจากเราจะใช้มันเป็นตัวเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายหลักแบบมีสาย หรือที่เราเรียกว่า Infrastructure Mode หรือการทำงานที่ Access Point ธรรมดาๆทั่วไปทำงานได้เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว
     แต่ด้วยแต่ละพื้นที่ ที่จำเป็นต้องการใช้เครือข่าย wireless อาจจะประสบปัญหาเช่น ความแรงไม่พอ ต้องการต่อ Outdoor Wi-Fi Hotspot ที่อยู่ในระยะไกล, ต้องการแชร์อินเตอร์เน็ตที่มาจากผู้ให้บริการ, ต้องการขยายพื้นที่ใช้งาน, ต้องการแชร์อินเตอร์เน็ตบอร์ดแบนด์ หรือแม้แต่การเชื่อมต่อแบบ Point to Point

ทำความรู้จักกับแต่ละ Mode กันว่า ท่านจะเลือกใช้ Mode ต่างๆ เมื่อใด ในสถานการณ์แบบใด

1.Access Point


      โหมด Access Point คือโหมดพื้นฐานที่สุดของการใช้งาน Wireless อยู่แล้วนั่นคือ Access Point จะทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อเครื่องลูกข่ายเข้าสู่ ระบบเครือข่ายแบบมีสาย เพื่อเข้าไปใช้งานอินเตอร์เน็ต หรือเข้าไปยังเครือข่าย LAN ของสำนักงานเป็นต้น โดยการเข้าถึงเครือข่ายอาจจะมีการเข้ารหัส (Encryption) โดยผู้ใช้งานจะต้องใส่ Key ก่อนเชื่อมต่อ บนมาตรฐาน WEP หรือ WPA เป็นต้น
และสำหรับ AP บางรุ่นก็สามารถทำ Multi-SSID และ VLAN เพื่อแบ่ง Traffic ของผู้ใช้งานออกจากกันได้ด้วย




2.Client Bridge


     โหมด Client Bridge ก็คือ ตัวอุปกรณ์จะทำหน้าที่เหมือนเป็นตัวลูกข่ายเพื่อเข้าเชื่อมต่อกับ Access Point โดยในโหมดนี้ เหมาะสำหรับการเชื่อมต่อไปยัง AP ระยะไกล หรือเพื่อเชื่อมต่อเครือข่าย wireless สำหรับอุปกรณ์เครือข่ายที่ไม่มี wireless card เช่นกล้องวงจรปิดแบบ IP เป็นต้น

รูปแสดงการเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ DVR เพื่อบันทึกภาพจากกล้อง IP-Camera


ส่วนที่เหลือ



3.Client Router


     Client Router จะมีการทำงานคล้ายกับ Mode Client Bridge แต่ว่า Mode นี้อุปกรณ์จะทำหน้าที่ NAT (Network Address Translation) ด้วย และมีฟังก์ชั่น DHCP ที่สามารถแจก IP Addresss ให้กับเครื่องลูกด้วย ในโหมดนี้ จะใช้ Wireless เป็น interface WAN และ ใช้พอร์ต RJ-45 เป็น interface LAN
     พูดง่ายๆก็คือเอาไว้แชร์ Wireless Hotspot นั่นเอง เช่นเมื่อต่อ TRUE Wi-Fi หรือ Spider Hotspot แล้วต่อไปยัง switch เพื่อแชร์ให้ computer ในบ้านเรานั้น เราไม่จำเป็นต้องใช้ account login สำหรับทุกเครื่อง เพียงเครื่องใดเครื่องหนึ่ง login สำเร็จ เครื่องที่เหลือก็สามารถใช้งานได้ทันที


     รูปแสดงการเชื่อมต่อไปยัง Outdoor Wireless ISP (WISP) โดยอาศัย EOC-1650 ที่ทำงานในโหมด Client Bridge โดยทำงานเสมือนเป็น Modem สำหรับเชื่อมต่อ Internet นั่นเอง

4.Wireless Router


โหมดนี้ก็จะทำงานเหมือน Wireless Router ทั่วไปครับ คือจะใช้ พอร์ต RJ-45 เป็น WAN และแชร์อินเตอร์เน็ตผ่าน Interface Wireless ครับ

5.WDS Bridge


     WDS Bridge คือการทำงานแบบ Point to Point โดยจะมีข้อแตกต่างจาก Client Bridge คือมันจะทำการส่งค่า MAC Address ของเครื่องลูกข่ายทั้งหมดผ่านไปยัง Interface Wireless ด้วย ซึ่งจะจำเป็นสำหรับการนำไปทำ Wi-Fi Hotspot เพราะผู้ให้บริการ จำเป็นต้องทราบ MAC Address ของเครื่องลูกค้าทุกคน

6.WDS AP


     WDS AP ก็คือการทำ Repeater หรือการขยายสัญญาณ จาก AP ตัวหนึ่ง ไปยัง AP อีกตัวหนึ่ง (หรือหลายตัว) โดยสามารถทำการขยายต่อไปได้เรื่อยๆ (ยิ่งทำ WDS หลาย AP ความเร็วโดยรวมยิ่งตกลง) โดย WDS จะมีข้อดีกว่า Repeater คือ มันสามารถ ส่งผ่าน MAC Address ของ Client ผ่านไปยัง Interface Wireless ซึ่งเหมาะสำหรับ WISP ที่จะทำการ Repeat สัญญาณ
     ข้อจำกัดของ WDS AP คือ ก่อนที่จะการ Repeat นั้น AP ทั้งคู่ที่จะเชื่อมต่อกัน จะต้องมีการกำหนดสิทธิ์ของกันและกันเสียก่อน ด้วยค่า MAC Address และ AP ในกลุ่มจะต้องมี Encryption เดียวกัน ใช้ Channel เดียวกัน รวมไปถึง SSID เดียวกันด้วย

7.Universal Repeater


     Universal Repeater นั้นอุปกรณ์จะทำหน้าที่ทวนสัญญาณจาก AP ตัวใดๆก็ได้ ที่อยู่ในรัศมี ที่อุปกรณ์รับสัญญาณได้ เพื่อขยายพื้นที่ให้บริการ รวมไปถึงมันยังสามารถเปลี่ยนชื่อ SSID เดิมให้เป็น SSID ใหม่ ที่เรากำหนดขึ้นได้ โหมดนี้ ถือเป็นโหมดเจ้าเล่ห์ ที่หาตัวจับยากจริงๆ

     หวังว่าทุกท่านคงจะได้รับ ความรู้ รวมไปถึง การเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับการใช้งานของท่านนะครับ
ข้อมูล : http://www.rightsoftcorp.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น