วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

โรคอีสุกอีใส

Varicella โรคอีสุกอีใส
อีสุกอีใส พบได้บ่อยในเด็ก แต่พบน้อยในผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ที่เป็นโรคนี้มักไม่เคยเป็นมาก่อนและพบว่าอาการมักรุนแรงหรือมีภาวะ แทรกซ้อนมากกว่าที่พบในเด็ก มักพบการระบาดในช่วงตอนปลายฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อน แต่ก็พบได้ประปรายตลอดทั้งปี

Chickenpox is a very contagious disease caused by the varicella-zoster virus (VZV). It causes a blister-like rash, itching, tiredness, and fever. The rash appears first on the trunk and face and can spread over the entire body causing between 250 and 500 itchy blister
สาเหตุของโรค
เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า ไวรัสวาริเซลลา (Varicella virus) หรือ Human herpes virus type 3 เป็นเชื้อไวรัสชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดงูสวัด
การติดต่อ
ติดต่อโดยการสัมผัสถูกตุ่มน้ำโดยตรงหรือ สัมผัสถูกของใช้ (เช่น แก้วน้ำ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าห่ม ที่นอน) ที่เปื้อนถูกตุ่มน้ำของคนที่เป็น อีสุกอีใสหรืองูสวัด หรือสูดหายใจเอาละอองของตุ่มน้ำ ผ่านเข้าทางเยื่อเมือก
ระยะฟักตัว 10-20 วัน
ในรายที่เป็นงูสวัด สามารถติดต่อในรูปแบบของอีสุกอีใสได้ โดยเฉพาะมารดาที่ให้นมบุตร หากมารดาเป็นงูสวัดบุตรก็จะเป็นอีสุกอีใสได้
อาการของโรค (Signs & Symptoms)
Anyone who hasn’t had chickenpox or received the chickenpox vaccine can get the disease. Chickenpox most commonly causes an illness that lasts about 5-10 days.
The classic symptom of chickenpox is a rash that turns into itchy, fluid-filled blisters that eventually turn into scabs. The rash may first show up on the face, chest, and back then spread to the rest of the body, including inside the mouth, eyelids, or genital area. It usually takes about one week for all the blisters to become scabs.

Other typical symptoms that may begin to appear 1-2 days before rash include:
  • high fever
  • tiredness
  • loss of appetite
  • headache
Children usually miss 5 to 6 days of school or childcare due to their chickenpox.
          เด็กที่เป็นจะมีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลียและเบื่ออาหาร ส่วนผู้ใหญ่มักจะมีไข้สูง มีอาการปวดเมื่อยตามเนื้อตัวคล้ายไข้หวัดใหญ่ ขณะเดียวกันก็จะมีผื่นขึ้นพร้อมๆ กับวันที่เริ่มมีไข้ หรือ 1 วันหลังมีไข้ โดยในระยะแรกจะขึ้นเป็นผื่นแดงราบก่อน ต่อมาจะกลายเป็นตุ่มนูน มีน้ำใสๆ และคัน ต่อมาอีก 2-3 วันก็จะตกสะเก็ด 
          ผื่นและตุ่มเหล่านี้จะขึ้นตามไรผมก่อนแล้วกระจายไปตามใบหน้าและลำตัว แผ่นหลัง บางคนจะมีตุ่มขึ้นในช่องปากทำให้ปากและลิ้นเปื่อย จะเกิดอาการเจ็บคอ บางคนอาจไม่มีไข้ มีเพียงผื่นและตุ่มขึ้นเท่านั้น ผื่นจะขึ้นมากที่สุดที่ใบหน้าและลำตัว เด็กวัยรุ่นและผู้ใหญ่มักจะมีอาการรุนแรงและมีตุ่มขึ้นมากกว่าเด็ก โดยทั่วไปผื่นหายได้โดยไม่มีแผลเป็น ยกเว้นมีเชื้อแบคทีเรียมาแทรกซ้อน โรคนี้เมื่อหายแล้วมักจะมีเชื้อหลบอยู่ที่ปมประสาท ซึ่งอาจจะออกมาเป็น งูสวัด ในภายหลังได้ เนื่องจากผื่นและตุ่มที่ขึ้นนี้จะค่อยๆ ขึ้นทีละระลอก ไม่ขึ้นพร้อมกันทั่วร่างกาย บางทีจะขึ้นเป็นผื่นแดงราบ บางทีขึ้นเป็นตุ่มน้ำใสๆ บางทีขึ้นเป็นตุ่มกลัดหนอง และบางทีเริ่มตกสะเก็ด จึงทำให้คนสมัยก่อนเรียกโรคนี้ว่า อีสุกอีใส (มีทั้งตุ่มสุกและตุ่มใส)

สิ่งที่ตรวจพบ
          มีผื่นแดงราบ ตุ่มใส ตุ่มหนอง กระจายตามใบหน้า ลำตัว และแผ่นหลัง มักพบว่ามีไข้ร่วมด้วย
ตุ่มของอีสุกอีใสแยกออกจากไข้ทรพิษหรือฝีดาษ (ซึ่งสูญพันธุ์จากโลกนี้ไปแล้ว) ได้โดยที่ตุ่มของไข้ทรพิษจะขึ้นหลังจากมีไข้นานประมาณ 3 วัน กระจายอยู่ตามแขนขามากกว่าลำตัวและตุ่มจะสุกพร้อมกันทั่วร่างกาย
Some people who have been vaccinated against chickenpox can still get the disease. However, the symptoms are usually milder with fewer blisters and mild or no fever. About 25% to 30% of vaccinated people who get chickenpox will develop illness as serious as chickenpox in unvaccinated persons.
อาการแทรกซ้อน

          พบได้น้อยในเด็ก แต่ในผู้ใหญ่อาจมีภาวะแทรกซ้อนได้บ่อยและรุนแรงขึ้น ที่พบบ่อยคือ การติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนบนผิวหนัง ทำให้กลายเป็นหนองและมีแผลเป็นตามมา ในบางรายเชื้อแบคทีเรียที่แทรกซ้อนอาจกระจายเข้าไปในกระแสเลือดทำให้เกิด ภาวะโลหิตเป็นพิษและปอดบวมได้ ในผู้ใหญ่ที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น ได้รับยารักษามะเร็ง หรือ สเตอรอยด์ เชื้ออาจจะกระจายไปยังอวัยวะภายใน เช่น สมอง ปอด ตับ ได้ทำให้ปอดอักเสบ ที่ร้ายแรงคือสมองอักเสบ (แต่พบได้น้อย)
          โรคนี้ไม่ใช่โรคติดต่อแต่เป็นโรคที่ติดตัวทุกคนมาตั้งแต่กำเนิด ทุกคนจะเป็นหรือไม่เป็นก็ขึ้นอยู่กับเวลาของบุคคลนั้นๆ

การดูแลรักษา

          เนื่องจากเป็นโรคที่หายเองได้ โดยอาจจะมีไข้อยู่เพียงไม่กี่วัน ส่วนตุ่มจะตกสะเก็ดและค่อยๆ หายใน 1-3 สัปดาห์ ผู้ป่วยจึงควรพักผ่อน และดื่มน้ำมากๆ ถ้ามีไข้สูงใช้ยาพาราเซตามอล เพื่อลดไข้ได้ ไม่ควรใช้ แอสไพริน เพราะ อาจทำให้เกิดอาการทางสมองและตับ ทำให้ถึงตายได้ ควรอาบน้ำและใช้สบู่ฟอกผิวหนังให้สะอาด ควรตัดเล็บให้สั้นและหลีกเลี่ยงการแกะเกา เพราะอาจทำให้ติดเชื้อได้ ในรายที่คันมากๆ อาจให้ยาแก้คัน เช่น คลอเฟนิรามีน ช่วยลดอาการคันได้ ในปัจจุบัน มียาที่ใช้ยับยั้งการเจริญเติบโตของไวรัส แต่ต้องใช้ในขนาดสูงและราคาแพงมาก นอกจากนี้จะต้องเริ่มใช้ภายในวันแรก มิฉะนั้นอาจไม่ได้ผล หรือไม่ได้ผลดี

  1. ไม่ต้องตกใจว่าเป็นโรคผิวหนัง ไม่แกะเกาปุ่มหนองใส
  2. การดูแลทั่วไป โรคอีสุกอีใสเป็นโรคที่ไม่รุนแรง โดยปกติแล้วจะเป็น เองหายเอง อาจจะมีข้อยกเว้นบ้างโดยเฉพาะในผู้ใหญ่ ซึ่งอาจจะมีอาการรุนแรงกว่า เช่น เป็นไข้หรือมีอาการ ทางผิวหนัง เช่น แผลมีการติดเชื้อหรือมีอาการคันรุนแรง หรือมีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น อาการปอดบวมจาก เชื้อไวรัส ในกลุ่มที่อาการไม่รุนแรงนี้ การให้ยาบางชนิด เช่น ยาบรรเทาอาการคัน การใช้น้ำสะอาดหรือ น้ำเกลือประคบ จะช่วยทำให้รู้สึกสบายตัวขึ้น ในเด็กควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาลดไข้จำพวกแอสไพริน เพราะอาจ จะทำให้มีโรคแทรกซ้อนอย่างอื่นตามมาได้
  3. ให้การรักษาตามอาการ เช่น ให้นอนพัก ดื่มน้ำมาก ๆ เช็ดตัวลดไข้เวลามีไข้สูง ห้ามอาบน้ำเย็น
  4. ถ้าปากเปื่อยลิ้นเปื่อยให้ใช้น้ำเกลือกลั้วปาก ควรอาบน้ำฟอกสบู่ให้สะอาด (อาจใช้สบู่ที่มียาฆ่าเชื้อฟอกก็ได้) เพื่อป้องกันไม่ให้ตุ่มกลายเป็นหนอง
  5. ควรตัดเล็บให้สั้นและพยายามอย่าแกะเกาตุ่มคัน อาจทำให้ติดเชื้อกลายเป็นตุ่มหนองได้
  6. ถ้ามีอาการรุนแรง เช่น ซึม ชัก หอบ ไม่รู้สึกตัว รีบนำส่ง รพ.ในทันที
  7. การรักษาแบบเจาะจง คือการใช้ยาต้านเชื้อไวรัสอีสุกอีใส ซึ่งควรจะให้ในระยะเวลา 24-48 ชั่วโมง หลังมีผื่นขึ้น ซึ่งเชื่อว่าการที่สามารถให้ยาได้ทันและมีปริมาณพอเพียง ในช่วงนี้สามารถทำให้การตก สะเก็ดของแผล ระยะเวลาของโรคสั้นลง การทำให้แผลตกสะเก็ดเร็วขึ้น โอกาสการเกิดแผลติดเชื้อหรือแผลที่ลึกมากก็น้อยลง ดังนั้น แผลเป็นแบบหลุมก็น้อยลงด้วย อย่างไรก็ตามยาในกลุ่มนี้ก็มีราคาแพงมาก การพิจารณาเลือกใช้ยากลุ่มนี้จึง ควรอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์และของผู้ป่วย สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การดูและผิวในระยะ ที่มีผื่นอย่างถูกต้อง เช่น ทำความสะอาดแผลให้ปราศจากสิ่งสกปรกหรือป้องกันการแทรกซ้อนของเชื้อแบคทีเรีย หรือ รับประทานยาเขียววันละ 3 ครั้ง 7 ถึง 10 เม็ด
ข้อแนะนำ
  1. โรคนี้ส่วนใหญ่หายได้เอง ไข้อาจจะมีอยู่เพียงไม่กี่วัน ส่วนตุ่มจะตกสะเก็ดหลุดหายใน 1 - 3 สัปดาห์ ผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่อาจจะเป็นนานกว่าผู้ป่วยเด็ก
  2. โรคนี้เมื่อเป็นแล้ว มักจะมีภูมิต้านทานไปจนตลอดชีวิต จะไม่เป็นซ้ำอีก แต่อาจมีโอกาสเป็น งูสวัด ในภายหลังได้
  3. ไม่ควรใช้ยาที่มีส่วนผสมของสเตอร์รอยด์ ทั้งยากินและยาทาเพราะจะทำให้โรคลุกลามได้
  4. ควรแยกผู้ป่วยออกต่างหาก ระยะแพร่เชื้อติดต่อให้ผู้อื่นได้คือ ตั้งแต่ระยะ 24 ชั่วโมงแรกก่อนมีตุ่มผื่นขึ้นจนกระทั่งระยะ  6 วันหลังตุ่มผื่นขึ้น
  5. ไม่จำเป็นต้องงดอาหารใด ๆ เป็นพิเศษ สามารถรับประทานอาหารพวกโปรตีน เช่น เนื้อ นม ไข่ ให้มาก ๆ ได้ เพื่อให้มีภูมิต้านทานโรค
วัคซีนสำหรับอีสุกอีใส

          วัคซีนอีสุกอีใสที่ค้นพบในระยะแรกมีข้อจำกัดที่ต้องเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ ถึง -20 แต่ปัจจุบันสามารถพัฒนาเป็นวัคซีนที่เก็บให้คงประสิทธิภาพได้ที่อุณหภูมิ 2-8 องศา ซึ่งเป็น อุณหภูมิตู้เย็นปกติ เก็บได้นาน 2 ปี ภายใต้ชื่อการค้า " VARILRIX " ของบริษัท SMITH KLINE BEECHAM

ในสหรัฐอเมริกา วัคซีนนี้ได้ถูกบรรจุให้อยู่ในตารางการให้วัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคใน เด็ก ปกติที่มีอายุในช่วง 12-18 เดือนแล้ว และกำหนดให้ฉีดให้เด็กอายุ 11-12 ปี ที่ยังไม่เคยรับวัคซีนและยัง ไม่เคยเป็นอีสุกอีใสมาก่อนด้วย
วัคซีนอีสุกอีใส เป็นวัคซีนผงแห้ง ที่เตรียมมาจากเชื้อไวรัสอีสุกอีใสซึ่งยังมีชีวิตแต่ทำให้อ่อนฤทธิ์ลง ใช้ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง สำหรับเด็กอายุ 1-12 ปี ฉีดครั้งเดียว แต่หากเป็นเด็กอายุ ตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไปหรือผู้ใหญ่ ฉีดสองครั้ง ห่างกัน 4-8 สัปดาห์ คนส่วนใหญ่มักจะจำได้ว่าเคยเป็นโรคนี้หรือไม่ จึงไม่จำเป็นต้องตรวจวัดระดับภูมิคุ้มกัน ยกเว้นกรณีจำประวัติได้ไม่ชัดเจน

ในบางครั้งอาจมีคำแนะนำให้ใช้วัคซีนในเด็กอายุ 10 ปีขึ้นไป เพื่อให้มีโอกาสติดเชื้อโดยธรรมชาติในช่วงอายุน้อย ๆ ซึ่งมักมีอาการไม่รุนแรงก่อน เพราะจะเป็นการประหยัดการใช้วัคซีน และเพื่อให้แน่ใจว่าจะมีภูมิคุ้มกันได้ตลอดชีวิต

วัคซีนนี้มีความปลอดภัยและประสิทธิภาพสูง หลังการให้วัคซีนจะมีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นร้อยละ 95-99 ผู้ที่ได้รับวัคซีนมีโอกาสเป็นโรคงูสวัดน้อยกว่าผู้ที่ติดเชื้อตามธรรมชาติ ภูมิคุ้มกันหลังได้รับวัคซีนจะอยู่ได้นาน 10-20 ปีหรืออาจตลอดชีวิต

อาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีน พบ ได้น้อยคือ อาการเจ็บปวดเฉพาะที่ ผื่นและไข้ ผื่นที่พบมักเป็นตุ่มใสเหมือนกับที่พบในโรคอีสุกอีใสทั่วไป แต่มักมีจำนวนไม่มาก และพบหลังฉีดวัคซีน 5-10 วัน

เด็กและผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีสามารถรับวัคซีนอีสุกอีใสได้ทั้งนั้น แต่จะคุ้มค่ามากกว่าหากให้วัคซีนในเด็กโตหรือผู้ใหญ่ที่ไม่เคยเป็นโรคอีสุก อีใสหรืองูสวัด เนื่องว่าเด็กโตหรือผู้ใหญ่เมื่อเป็นโรคอีสุกอีใสแล้วอาการมักรุนแรง ผู้ป่วยเด็กที่เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวและผู้ติดเชื้อเอชไอวี แนะนำให้ฉีดวัคซีนอีสุกอีใสในช่วยที่มีสุขภาพทั่วไปดี

ข้อห้ามในการให้วัคซีน ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ มารดาระหว่างให้นมบุตร ผู้ป่วยที่มีไข้สูงหรือเจ็บป่วยเฉียบพลัน มีประวัติแพ้ยานีโอมัยซินหรือส่วนประกอบของวัคซีน ผู้ที่เพิ่งได้รับเลือด ผลิตภัณฑ์ของเลือด และอิมมูโนโกลบุลินก่อนหน้าไม่มากนัก สำหรับผู้หญิงที่ได้รับวัคซีนแล้วควรหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์อย่างน้อย 3 เดือน

ในประเทศไทย เนื่องจาก วัคซีนอีสุกอีใสมีราคาค่อนข้างสูง จากรายงานทางระบาดวิทยาพบ ว่า 50 % ของอีสุกอีใสเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี ซึ่งมักมีอาการไม่รุนแรง จึงยังไม่กำหนดให้เป็น วัคซีนที่บังคับฉีดในเด็กไทย อย่างไรก็ตามมีข้อแนะนำว่า สำหรับเด็กไทยที่อายุอยู่ในช่วง 10-12 ปี ถ้ายังไม่เคยเป็นอีสุกอีใสมาก่อน ก็น่าจะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส เนื่องจากในวัยเด็กช่วง อายุ 1-12 ปี การสร้างภูมิต้านทานของร่างกายจะตอบสนองกับวัคซีนได้ดี การได้รับวัคซีนเพียงเข็มเดียว ก็เพียงพอแล้ว ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย แต่สำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไปต้องได้รับวัคซีน 2 เข็มใน ระยะห่าง 4-8 สัปดาห์ จึงเพียงพอที่จะกระตุ้นให้สร้างภูมิต้านทานได้สูงพอที่จะป้องกันโรค ส่วนผู้ที่เคย เป็นอีสุกอีใสมาแล้ว จะมีภูมิต้านทานตามธรรมชาติอยู่แล้วไม่ต้องฉีดวัคซีนอีก

วัคซีน VARILRIX ใช้ฉีดครั้งละ 0.5 ml. เข้าใต้ผิวหนัง [SUBCUTANEOUS] เท่านั้น ผู้รับ การฉีดวัคซีน จะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ในการสร้างภูมิต้านทานต่อโรค ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีน พบว่าอาจมีไข้หรืออาการร้อนแดงตรงตำแหน่งที่ฉีดยา (5 %) อาจมีผื่นคล้ายผื่นอีสุกอีใสเกิดขึ้น แต่ไม่รุนแรง (3-4 %) แต่ส่วนใหญ่ของผู้รับวัคซีนไม่พบความผิดปกติใดๆ วัคซีนอีสุกอีใสนี้ห้ามฉีดในหญิงมีครรภ์ สำหรับสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่ฉีดวัคซีนนี้ ควรหลีกเลี่ยงการ ตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือน หลังจากฉีดยา

เนื่องจากวัคซีนอีสุกอีใสในปัจจุบันยังมีราคาค่อนข้างแพง สำหรับครอบครัวที่เศรษฐกิจดีอาจ ให้บุตรหลานรับการฉีดวัคซีนได้ตั้งแต่อายุ 12 เดือน แต่ครอบครัวที่ยังไม่พร้อมนัก หวังว่าข้อมูลข้างต้น คงพอจะช่วยในการตัดสินใจว่าจะฉีดวัคซีนหรือไม่ เมื่อไร อย่างไรไม่มากก็น้อย
เรียบเรียงโดย The Nok : ThaiNurseClub
ข้อมูลอ้างอิง
: ตำราตรวจรักษาโรคทั่วไป โดย นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ
: http://th.wikipedia.org/wiki/อีสุกอีใส
: http://www.cdc.gov/chickenpox/index.html

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

หนังสือซักซ้อมแนวทางการดำเนินงานกองทุนตำบล ปี 2560


  1. หนังสือแจ้งแนวทางกองทุนตำบล ปี 2560 (รพ.)
  2. หนังสือแจ้งแนวทางกองทุนตำบล ปี 2560 (สสจ.)
  3. หนังสือแจ้งแนวทางกองทุนตำบล ปี 2560 (สสอ.)
  4. กรอบแนวทางดำเนินงานกองทุนตำบล ปี 2560
  5. ผังแนวทางการดำเนินงานงบกองทุน
  6. โครงการตัวอย่างชุดที่ 1

JHCIS Ver.16 ต.ค.2559 ออกแล้ว


แต่มีปัญหาตามมาสำหรับข้อมูล Provider ที่ไม่สมบูรณ์ต้องกรอกข้อมูลผู้ใช้ให้ครบถ้วน ถ้าไม่ครบ โปรแกรมจะไม่ยินยอมให้ส่งออกข้อมูล ระวังก่อน Update ข้อมูล

http://neo.moph.go.th/jhcis/download.php

Latest Version builds October 11, 2016 [Stable Version]